Kamikatsu Model เมืองแห่งแรงบันดาลใจ

Kamikatsu Model เมืองแห่งแรงบันดาลใจ
เมื่อหมู่ศูนย์จัดการขยะ กลายเป็นเป็นที่พักใจของชุมชน
 
 
 ปัญหาขยะที่เป็นหนึ่งในปัญหาที่สำคัญของสังคมและถูกมองข้ามมาตลอด เพราะเป็นปัญหาสาธารณะที่่เราทุกคนล้วนแต่มีส่วนสร้างขึ้นมา และอยากที่จะแก้ไขเพราะเป็นความเคยชินที่ไม่สามารถแก้ได้ง่ายมากนัก   แต่ไม่ใช่กับที่นี่ ที่หมู่บ้าน  Kamikatsu ที่เกาะชินโชกุของประเทศญี่ปุ่น  หมู่บ้านต้นแบบ Zero Waste  ของโลก 
 
 
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) เล่าถึงภาพรวมถึงเมือง Kamikatsu ซึ่งเป็นเมืองไร้ขยะแห่งนี้ว่า   Kamikatsu  ซึ่งเป็น 1 ใน 8 เมือง Zero Waste ของญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงมาก  มีการจัดการปัญหาขยะ 2 แบบ โดยแบบที่ 1. ใช้พลังงานไฟฟ้า เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ย  2. เป็นแบบใช้ถังขยะเปียกเพื่อหมักขยะในบ้าน โดยการสนับสนุนจากรัฐบาล  เช่น เครื่องหมักขยะราคา 52,000 เยน รัฐบาลจะช่วยออก 40,000 เยน และ ประชาชนจ่ายแค่ 10,000 เยน ด้วยวิธีนี้ทำให้ขยะเปียกของที่นี่ถูกกำจัดได้หมดซึ่งเป็นขยะส่วนใหญ่ ดังนั้น ถือว่าเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่รัฐจะต้องเข้ามาสนับสนุน (Subsidy) 
 
ส่วนขยะแห้งต้องมีการแยกขยะที่บ้านและชาวบ้านต้องนำมาส่งเพื่อแยกอีกทีที่ศูนย์จัดการขยะ ที่เรียกว่า Zero Waste Academy ทำหน้าที่เ ให้ความรู้กับประชาชนเรื่องการจัดการขยะในทุกๆด้าน โดยมีหลักการ/แนวคิด (Concept) ว่าไม่มีขยะ หรือ Zero Waste ซึ่งหมายถึง สิ่งของทุกชิ้นยังมีคุณค่าไม่ใช่ของที่จะทิ้ง แต่สามารถปรับปรุงหรือรีไซเคิล เพื่อนำมาใช้ใหม่ได้  ซึ่งคนญุี่ปุ่นจะมีเป็นคนที่เคารพกฎหมายมาก  
 
การทิ้งขยะของญุี่ปุ่นก็มีความเข้มงวด โดยต้องมีการจ่ายเงินเพื่อการจัดการขยะ  เช่น หากต้องการทิ้งขยะต้องไปซื้อสแตมป์ซึ่งเท่ากับเป็นการจ่ายค่าจัดการขยะตามราคาของสิ่งของที่จะทิ้ง 
 
“การทิ้งขยะของญี่ปุ่นจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะต้องเสียเงินหรือใช้ระบบความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต Extended Producer Responsibility; EPR) ซึ่งแม้แต่การซื้อรถของญุี่ปุ่นก็มีการบวกค่าจัดการขยะไว้แล้ว ทำให้คนญี่ปุ่นหันมาใช้รถสาธารณะ เห็นได้ว่าการจัดการบริหารขยะแบบประเทศญุี่ปุ่น เพื่อที่จะก้าวไปเป็น Zero Waste  นั้นต้องมีการบูรณาการในทุกๆด้านทั้งภาครัฐ และ ภาคประชาสังคม และมีการคิดอย่างเป็นระบบเพื่อให้การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม” เลขาธิการสช. กล่าว  
 
 ภาพ  Zero Waste Academy
 
 รู้จัก Kamikatsu โมเดล    
 
หมู่บ้านคามิคัตสึ (Kamikatsu) ตั้งอยู่ท่ามกลางทุ่งข้าวเขียวขจีและป่าภูเขาบนเกาะชิโกกุทางตะวันตกของญี่ปุ่น   ด้วยผู้อยู่อาศัยน้อยกว่า 1,700 คน ที่นี่จึงเป็นหมู่บ้านที่เล็กที่สุดบนเกาะแห่งนี้  แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาหมู่บ้านได้เป็นข่าวไปทั่วโลก 
 
ทั้งนี้เป็นเวลาหลายสิบปีที่หมู่บ้านแห่งนี้มีความคิดที่จะจัดการขยะ โดยติดว่าจะใช้เตาเผาขยะหรือฝังดิน   อย่างไรก็ตามโครงการที่ใช้เตาเผาขยะได้ถูกล้มเลิกไป ทำให้หมู่บ้านต้องทบทวนแผนยุทธศาสตร์กำจัดขยะกันใหม่  จนกลายเป้าหมายที่ท้าทายและสูงส่ง  นั่นคือการเป็นเมืองที่มีปลอดขยะ 100% ภายในปี 2563 
 
ทุกวันนี้ขยะมากกว่า 80% ของเมืองไม่ต้องนำไปเผาและฝังกลบอีกต่อไปแล้ว  แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ได้ง่ายและไม่ได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วแต่อย่างใด 
 
 
วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป 
 
การเดินทางของเมืองคามิคัตสึสู่การเป็นเมืองที่มีขยะเป็นศูนย์  เริ่มขึ้นเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว  หลังจากที่โครงการสร้างเตาเผาขยะถูกรัฐบาลระงับ เพราะอาจจะส่งผลต่อสุขภาพ เฉพาะจากสารไดออกซินซึ่งเป็นอันตรายที่ปล่อยสู่อากาศ รวมทั้งค่าใช้ในการดูแลรักษาเตาเผาขยะมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ชาวบ้านต้องคิดกันอีกครั้งว่าจะทำอย่างไรดี จะขนขยะไปที่เทศบาลของเมืองอื่นก็มีค่าใช้จ่ายสูงอีกเช่นกัน และที่สำคัญวิธีนี้ไม่ใช่ทางออกยั่งยืนสำหรับหมู่บ้านเล็กๆแบบนี้ 
 
ดังนั้นชาวบ้านจึงตัดสินว่าจะลดขยะให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และ  Zero Waste Academy  ที่นำโดย อาริกะ ซากาโน ได้เกิดขึ้น  ทั้งนี้การประชุม World Economics Forum 2019 ที่ผ่านมา อาริกะ ถือเป็นหนึ่งในผู้นำรุ่นใหม่ที่ได้แชร์ประสบการณ์การสร้างเมืองปลอดขยะด้วย
 
 ภาพ  Zero Waste Academy
 
อาริกะ ได้เล่าให้ฟังว่า  ทางปฏิบัติแล้วก็เป็นความคิดที่ง่ายๆ คือ การแยกขยะตามการจัดแบ่งประเภทต่างๆ เบื้องต้นใช้ตามหลัก 3 Rs ได้ R : Reuse คือ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด  การใช้ซ้ำได้หลายๆครั้ง    R : Reduce คือ การลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง   R : Recycle คือ การนำหรือเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมารีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ใหม่  ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเป็นการปฏิวัติอะไรใหม่เลย เพราะทั่วโลกก็ทำกันในการแบ่งสีของถังขยะเพื่อแยกประเภทขยะต่างๆ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้มาเก็บอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง  ซึ่งก็หวังว่าโครงการนี้จะเป็นไปด้วยดี 
 
เริ่มอย่างแรก คือ จะมีการแบ่งขยะออกเป็นอย่างน้อย 45 หมวดหมู่  โดยเริ่มจากเศษอาหาร  เหล็ก กระดาษ พลาสติก แก้ว ขวด กล่องอาหาร  เฟอร์นิเจอร์ และ เครื่องมือต่างๆ ฯลฯ จะมีการแยกประเภททั้งหมด และภายแต่ละหมวดหมู่ก็จะมีการแยกในระดับย่อยๆ ลงไปอีกเช่น เหล็ก อะลูมิเนียม  กระดาษอ่อน กระดาษแข็ง เป็นต้น เพราะการแยกที่ละเอียดแบบนี้จะทำให้คนที่แยกขยะเห็นคุณค่าของสิ่งของเหล่านี้ทันทีและรู้ว่านี่เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและรู้ว่าจะต้องปฏิบัติต่อของเหล่านี้อย่างไร พวกเขาจะเห็นคุณค่าขยะมากขึ้น
 

 
จากการ “ต่อต้าน”สู่การเต็มใจให้ “ความร่วมมือ”
 
 
เธอบอกว่าต้องใช้เวลาพอสมควรในการชักชวนชาวบ้านในตอนแรก พวกเขาไม่เพียงแค่ต้องล้างและคัดแยกขยะที่บ้าน เท่านั้น แต่ต้องนำขยะเหล่านี้ไปที่ศูนย์เก็บขยะด้วย เรียกได้ว่ามันเป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตพวกเขาเลยก็ว่าได้ และมีคนจำนวนมากต่อต้านวิธีการจัดเก็บขยะแบบใหม่แบบนี้และตั้งคำถามด้วยว่าทำไมต้องเอาขยะมาขายที่ศูนย์ Zero Waste Academy  แบบนี้แปลว่ารัฐบาลไม่ทำงานอย่างเหมาะสมใช่หรือเปล่าและอีกหลายๆคำถามว่าทำไมๆ  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เทศบาลได้จัดการประชุมเพื่อพูดคุยกับชุมชนอย่างสร้างสรรค์ในเรื่องนี้ 
 
 
“หลังจากที่มีการพูดคุยกัน ความขัดแย้งก็ยังมีอยู่บ้าง แต่ก็มีคนจำนวนหนึ่งเริ่มเข้าใจและให้ความร่วมมือในการแยกขยะ ซึ่งหลังจากที่ได้ลงมือทำชาวบ้านก็บอกเลยว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย”  อาริกะ ระบุ
 
 
จากนั้นมีการเล่าต่อกันปากต่อปากทำให้ชาวบ้านเริ่มมาสนับสนุนจากไม่กี่คนก็เป็นให้ความร่วมมือหมดทุกคน ซึ่งแต่ละบ้านก็จะแยกขยะมากันอย่างน้อย 10 หมวดหมู่ จากนั้นก็เอาขยะมาที่ศูนย์เพื่อแยกต่อให้ขยะเหลือน้อยที่สุด 
 
 
Zero Waste Academy ดำเนินการภายใต้หลัก 4  Ls -  (local, low cost, low impact, and low tech คือ  ท้องถิ่น, ต้นทุนต่ำ,ผลกระทบต่ำ และเทคโนโลยีต่ำ ไม่มีเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่นี่เนื่องจากชาวบ้านทิ้งขยะของตัวเองในถังขยะที่ถูกต้องในขณะที่เจ้าหน้าที่ก็พร้อมจะนำขยะเหล่านี้ไปรีไซเคิลได้เลย 
 
โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการไปและภายในสิ้นปี 2561 มีเพียงขยะเพียง 19% เท่านั้นที่ถูกส่งไปยังเตาเผาขยะหรือหลุมฝังกลบ แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ แต่มันเรื่องระหว่างของโครงการนี้และเกิดขึ้นที่ “ศูนย์แยกขยะ” ซึ่งก่อนหน้านี้แทบไม่มีใครให้ความสนใจและต่อต้านโครงการด้วย
ซ้ำ 
 
 ภาพ  Zero Waste Academy
 
เป็นมากกว่าศูนย์จัดการขยะ เพราะเป็นที่พักพิงทางใจของผู้สูงอายุ 
 
 
หลังจากนั้นเรื่องราวดีๆก็เกิดขึ้นที่นี่  เพราะญี่ปุ่นซึ่งเป็นเมืองสังคมผู้สูงอายุมีปัญหาคนชรามีความเหงาและรูู้สึกโดดเดี่ยว  บางคนถึงกับจงใจก่อเหตุกระทำผิดเพื่อให้ตัวเองคิดคุกเพราะเชื่อว่าอยู่ในคุกมีเพื่อนแน่นอน แต่ที่หมู่บ้านคามีคัตสึ ไม่ต้องเจอปัญหานี้ เพราะชาวบ้านซึ่งเป็นผู้สูงอายุกว่าครึ่งเมือง ได้ใช้ศูนย์เป็นที่พบปะพูดคุยกันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างชัดเจน ที่นี่เป็นศูนย์จัดเก็บขยะแห่งนี้ จึงกลายเป็นศูยน์กลางของชุมชนไปแล้ว  
 
ยกตัวอย่างเช่น  ร้าน "kuru-kuru" ( Circular -หมุนเวียน)  ซึ่งอยู่ภายในบริเวณศูนย์กลายเป็นสถานที่แลกเปลี่ยน/ยืม/ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ เพราะเป็นที่รวมสิ่งที่ของที่เจ้าของไม่ต้องการใช้อีกต่อไปแล้ว โดยมีข้าวของเครื่องใช้มากมายกว่า 8,000 รายการ ซึ่งชาวบ้านสามารถมาเลือกดูและนำไปใช้ได้เลย รวมถึงยังเป็นศุนย์งานฝีมือหัตถกรรมต่างๆ เช่น มีการนำชุดกิโมโนที่ไม่ใช่แล้วไปทำงานประดิษฐ์อื่นๆด้วย 
 
มากไปกว่านั้น ความงดงามที่เกิดขึ้นยังรวมถึงการบริการจัดเก็บขยะให้กับบ้านผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาที่ศูนย์ได้ ซึ่งคนเฒ่าคนแก่ที่รออยู่บ้านจะรู้สึกตื่นเต้นดีใจและไม่คิดว่าเป็นแค่การมาเก็บขยะ   และดีใจที่คนรุ่นใหม่ๆมาพูดคุย โดยพวกเขาจะเตรียมสำรับกับข้าว เพื่อต้อนรับเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี  บางครั้งเมื่อเจ้าหน้าที่ไปถึงพบผู้สูงอายุนอนป่วยไม่สบายก็ช่วยกันเรียกรถพยาบาลมาช่วยเหลือได้
 
 
 “ดังนั้น มันเกือบจะเหมือนกับสวัสดิการสังคม และเป็นโอกาสสำหรับญี่ปุ่นที่จะเห็นบริการเก็บขยะสามารถเชื่อมโยงกับหน้าที่อื่น ๆ ของสังคมไม่ว่าจะเป็นการมีส่วนร่วมของชุมชนและการให้ความร่วมมือกับนโยบายต่างๆเป็นอย่างดี อีกทั้งยังทำให้ที่นี่กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวและนักพัฒนาที่อยากมาดูการจัดการขยะ โดยแต่ละปีมีคนมาท่องเที่ยวที่นี่จำนวนมาก ช่วยสร้างรายได้ให้กับคนที่นี่ แทบไม่น่าเชื่อว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ทิ้งขยะจากกลุ่มคนเล็กจะส่งสามารถมี impact ที่ีดีแบบนี้ต่อทั่วโลกได้ “ อาริกะ กล่าว 
 
 
ถ้าประชาชนรู้จัก “ขยะ” ดีพอ พฤติกรรมการทิ้งจะเปลี่ยน 
 
 
อาริกะ เชื่อว่า Kamikatsu Model สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกพื้นที่ทั่วโลก และเชื่อว่าถ้าบริโภครู้จัก
 “ขยะ” ที่ตัวเองเป็นคนสร้างเป็นอย่างดีก็จะทำให้ประชาชนเข้าใจเรื่อง “ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” มากขึ้น และนี่เองที่จะเปลี่ยนนิสัยการบริโภคของพวกเขา ซึ่งเชื่อว่าแต่ละในพื้นที่ก็จะมีบริบทที่แตกต่างกันไปแต่ก็สามารถนำไปใช้้ได้  เพราะปัญหาหลักของการจัดการขยะคือ  ประชาชนแทบจะไม่ต้องเคยคิดเลยว่า ขยะในมือพวกเขาจะไปที่ไหน เป็นสิ่งที่ประชาชนมองไม่เห็นและไม่เคยใส่ใจ ไม่เคยตั้งคำถาม ซึ่งที่ศูนย์เรารายงานประชาชนตลอดว่าขยะที่ท่านนำมาทิ้งไปที่ไหนอย่างไรบ้าง  
 
“พอชาวบ้านได้รู้ว่าขยะไปไหน นำไปรีไซเคิลเท่าไหร่ ถูกทิ้งจริงๆเท่าไหร่  หรือสามารถเอาไปขายเพื่อเป็นเงินให้กับเมืองได้เท่าไหร่  สิ่งเหล่านี่จะทำให้ประชาชนพิจารณา เพราะว่าถ้าพวกเขาได้เห็นราคาต่างๆ เหล่านี้ หรือรู้ว่ามันได้นำไปรีไซเคิลหรือไม่อย่างไร เขาก็จะรู้ว่าการกระทำของพวกเขาส่งสามารถส่งผลต่อชุมชนและคนรุ่นต่อไปได้ พฤติกรรมการทิ้งขยะจะเปลี่ยนไปและเห็นคุณค่าขยะมากขึ้น” ประธาน Zero Waste Academy กล่าว 
 
 
 
ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คือทางออกสู่ Zero Waste 
 
สำหรับเป้าหมายเมืองปลอดขยะในปี 2563 นั้น อาริกะ บอกว่า คงไม่สามารถเป็นไปได้ หากไม่ได้มีการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้เสียที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายของเราที่ 100% คงไม่สามารถทำได้ ในขณะที่ผู้ผลิตยังคงใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้อยู่  ดังนั้น  ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ควรมีการออกแบบให้สามารถรีไซเคิล ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณา  รวมถึงร้านค้าต่างๆก็ควรละขยะและหลีกเลี่ยงบรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็นและรายการแบบใช้ครั้งเดียวให้มากที่สุด  ซึ่งร้านค้าในท้องถิ่นสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้  โดยเป้าหมายสูงสุดของเราคือ การได้เห็นทั่วโลกใช้โมเดลของเมืองนี้และไม่ว่าจะมีอุปสรรคแค่ไหนทางศูนย์ก็ยังมีความมุ่งมั่นให้เมือง Kamikatsu ปลอดขยะ 100% ให้ได้ และอยากรัฐบาลทั่วโลกหันมาสนใจแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลกด้วย 
 
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของ Kamikatsu หมู่บ้านแห่งแรงบันดาลใจ ที่เปลี่ยนศูนย์จัดการขยะให้กลายเป็นที่พักพิงใจของผู้คนในชุมชน จากการแก้ปัญหาขยะนำไปสู่การแก้ปัญหาสังคม  โดยเฉพาะปัญหาผู้สูงอายุซึ่งเป็นปัญหาที่อ่อนไหวของคนทั่วโลก  ซึ่งวิธีการกำจัดที่ขยะของคนที่นี่ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนเลย ที่เหลือคือ การลงมือทำเท่านั้น