สานพลังรัฐ ประชาชนที่ทางสายกลาง
ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีศตวรรษที่ 21
ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในสังคมไทยที่ข้อมูลข่าวสารทุกวันนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีข้อมูลทุกอย่างทั้งด้านบวกและลบโดยไม่มีการควบคุม โจทย์สำคัญของประเทศไทยคือ ทำอย่างไรที่จะให้ประเทศมีการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ในทุกระดับ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศชาติมากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะต้องไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ประเทศไทยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะด้านการสื่อสารเร็วมากๆ ถือว่าเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งต้องยอมรับว่าเด็กที่เกิดมาในยุคนี้ต้องสัมผัสกับเทคโนโลยีดิจิตอลเหล่านี้ ดังนั้น ต้องคิดถึงเรื่องการส่งเสริมและการควบคุมเพื่อให้เด็กเหล่านี้ได้ใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์ เพราะเทคโนโลยีมีทั้งบวกและลบ ดังนั้น สังคมต้องควบคุมข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตรายที่เผยแพร่ข้อมูลหรือทัศนคติที่เป็นอันตรายต่อชาติและความมั่นคงระหว่างประเทศ เพราะในปัจจุบันในอินเตอร์เน็ตมีทุกอย่างที่บางครั้งอาจจะเป็นภัยความมั่นคงต่อประเทศได้ ถ้าไม่มีการบริหารจัดการที่ดีพอ
โดยทางด้านนโยบายนั้น ก่อนหน้านี้ประเทศไทยมีการพูดถึงเรื่อง Single Gateway และมีคนออกมาต่อต้าน แต่หากเรามองไปที่ประเทศจีน ซึ่งมีประชาชน 1,300 ล้านคน ใช้ Single Gateway เพื่อดูแลประชาชน เพราะไม่เช่นนั้นจะควบคุมยาก ซึ่งการใช้ Single Gateway ของประเทศจีน ไม่ได้กระทบต่อการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีของประชาชนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามจีนกลับเป็นประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี
“เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของเสรีภาพอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์โดยเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ดังนั้น ควรมีการพบกันที่จุดกึ่งกลาง เพราะหากคำนึงถึงแต่เสรีภาพอย่างเดียว ถือว่าคำนึงแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว ดังนั้น คิดว่าชาติต้องนำ ไม่เช่นนั้นเราอยู่ไม่ได้ ดังนั้น ต้องพิจารณากันตามข้อเท็จจริง ต้องมีการ Synnergist หรือการสานพลัง ระหว่าง การใช้อำนาจแบบแข็ง (Hard Power) และการใช้อำนาจแบบอ่อน (Soft Power) ต้องอยู่ร่วมกันเป็นทางสายกลาง เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ให้มากที่สุด”เลขาธิการ สช.กล่าว
บทเรียนจากประเทศจีนกับวิสัยทัศน์การพัฒนาไอที
“หากไม่มีการพัฒนาด้านไอที ประเทศจะไม่มีความทันสมัย” without IT development, there will be no modernization.” เป็นคำประกาศหลักของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที)ของประเทศ เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 โดยเป็นพิมพ์เขียวระยะยาวที่ตั้งเป้าหมายประเทศจีนเป็น “โรงงานนวัตกรรมและเทคโนโลยี” ในศตวรรษหน้า และเห็นได้ชัดเจนว่าประเทศจีนให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีไอทีในการใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศและทำให้ทุกวันนี่้จีนเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าเป็นอันดับต้นๆของโลก
แผนแม่บทดังกล่าว ชื่ออย่างเป็นทางการว่า“ โครงร่างเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ” - วางเป้าหมายและเป้าหมายด้านไอทีของรัฐบาลในอีก 10 ข้างหน้า ที่จะมีการส่งเสริมภาคไอทีในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยปีเป้าหมายคือ
ภายในปี 2563 ประเทศจีนพยายามที่จะสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมในประเทศด้วย“ เทคโนโลยีหลัก (Core Technologies)” เพื่อให้ประเทศเป็นศูนย์รวมบริการซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ติดอันดับโลก นอกจากนี้จีนวางแผนที่จะให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ประชาชน 350 ล้านคนและขยายบริการ 3G และ 4G ทั่วประเทศ พร้อมกับการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยี 5 G ด้วย
ภายในปี 2568 จีนพยายามเป็นผู้นำเครือข่ายการสื่อสารเคลื่อนที่ชั้นนำของโลก โดยตั้งเป้าเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีล้ำที่สุดของโลกและจะขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศด้วยนวัตกรรมล่าสุด โดยเชื่อว่ากลยุทธ์นี้จะสามารถรายได้บริโภคสินค้าและบริการด้านไอทีและอีคอมเมิร์ซจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าถึง 6 ล้านล้านหยวน (903 พันล้านดอลลาร์) และ 38 ล้านล้านหยวน (5.7 ล้านล้านดอลลาร์) ตามลำดับในปี 2563 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวในปี 2568
ในขณะที่หลายแง่มุมของกลยุทธดังกล่าว ได้รวมอยู่แผนริเริ่มของจีน Chinese Planning Initiative) ที่มีการก่อนหน้านี้เช่น โครงการ "Internet Plus" และ "Made in China 2025” แผนยุทธศาสตร์ใหม่ล่าสุดยังคงให้ความสำคัญกับเรื่องชาตินิยมทางเทคโนโลยี(Techno-Nationalism) ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์สู่การเป็นผู้นำโลกด้านเทคโนโลยีของจีนเหมือนเดิม และมุ่งมั่นว่าจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน
โดยประเด็นเรื่อง “ อธิปไตยทางไซเบอร์ (cyber sovereignty)” ที่มีการถกเถียงนั้น ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้ย้ำว่า แต่ละประเทศมีสิทธิ์ในการกำกับดูแลและควบคุมกิจกรรมทางไซเบอร์ในประเทศ พร้อมยังเรียกร้องให้ประเทศอื่นๆ เคารพแนวทางของประเทศจีนด้วย โดยจีนได้กฎหมายและระเบียบข้อบังคับในประเทศสำหรับการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ซึ่งมีแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในประเทศรวมถึงการขอความร่วมมือเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์กับประเทศอื่นๆและองค์กรที่เกี่ยวข้องและประเทศอื่นๆด้วย
ใช้ Emerging Technology พัฒนาคุณภาพชีวิต
หลังจากได้เห็นกรอบในการพัฒนากันไปแล้ว มาที่ภาคปฏิบัติ ซึ่งในรอบ 40 ปีที่ผ่านมาประเทศจีนได้ทุ่มสรรพกำลังทุกประเภทในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจนทำให้ประชาชนกว่า 800 ล้านคนพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ในประเทศจีนได้มีความพยายามใช้เทคโนโลยีต่างๆโดยการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับคนในชนบท โดยเฉพาะในเรื่องของการศึกษา สาธารณสุข และ การเกษตร ให้มากที่สุด โดยในปี 2560 จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในชนบทของจีนสูงถึง 209 ล้านคนในปี คิดเป็น 35% ของพื้นที่ชนบทของจีน
มีการสนับสนุนการเทคโนโลยีเพื่อสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ให้กับเด็กๆในพื้นที่ชนบท เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดย VIPKid สตาร์ทอัพระดับยูนิคอร์นชาวจีนเปิดตัวโครงการ “การศึกษาในชนบท” ในปี 2560 โดยมีเป้าหมายให้นักเรียน 10,000 ห้องเรียน เข้าถึงการศึกษาออนไลน์แบบเรียลไทม์ โดยในระดับนโยบายนั้น กระทรวงศึกษาธิการของจีนได้จัดสรรงบประมาณ 8% สำหรับการจัดการศึกษาโดยดิจิทัล เพื่อให้นักเรียน 55 ล้านคนในโรงเรียนชนบทสามารถเข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้
NovaVision Group ได้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI)มาแก้ปัญหาในเรื่องสุขภาพและการสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนแพทย์ ซึ่งเป็นปัญหามาอย่างยาวนาน เชื่อว่าเราสามารถฝึก AI ให้เป็นผู้ช่วยแพทย์ในชนบทได้ เพื่อที่จะลดความแออัดของเมืองใหญ่ๆ รวมถึงความพยายามในการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และภาพถ่ายในการวินิจฉัยอาการผู้ป่วย
รวมถึงการใช้ AI ในการเตรียมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต โดยอีก30 ปี ประชากร 1 ใน 3 จะเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี และเชื่อว่า AI จะมีบทบาทอย่างมากในการบริการด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะ AI สามารถทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการนำ AI มาใช้ในการเกษตร เช่น เรื่องการเกษตรแม่นยำให้กับเกษตรกรการตรวจสอบสภาพอากาศ การกำจัดศตรูพืข ช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตร รวมถึงการใช้ IoT, AI และ Blcokchain มาใช้ในการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เพราะมีอัลกอลิทึมที่สามารถทำนายโรคได้ เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของจีนที่ทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพในการใช้เทคโนโลยีพัฒนาประเทศ ซึ่งประเทศไทยสามารนำมาใช้ในบริบทที่เหมาะสมกับประเทศเราได้ ถ้าทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจริงใจและจริงจัง ยึดผลประโยชน์ของชาติของชาติเป็นที่ตั้ง เราก็สามารช่วยกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้