“ธรรมนูญสุขภาพ” เป็นคำที่ใช้ในกระบวนการร่างพ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เพื่อสื่อถึงพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ ว่าเป็น “ธรรมนูญสุขภาพ คนไทย โดยคนไทย เพื่อคนไทย” โดยหวังให้เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพ เนื่องจาก “ธรรมนูญ” สื่อถึงการเป็นกฎหมายสูงสุดที่ว่าด้วยเรื่องสุขภาพที่ตราขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายใช้อ้างอิง และใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนสังคมให้เป็นไปตามระบบสุขภาพที่พึงประสงค์
ต่อมาเมื่อสังคมไทยมี “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550” แล้ว ได้ปรากฏคำว่า “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในหมวดที่ 5 มาตรา 46 (ให้ คสช. จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบ และแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ) ในกฎหมายฉบับดังกล่าว
“ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 นับเป็นนวัตกรรมของสังคมไทย ในฐานะเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ เป็นเครื่องมือสร้างกระบวนการเรียนรู้ว่าด้วยเรื่องระบบสุขภาพของสังคมไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ร่วมกำหนด กรอบทิศทางนโยบายด้านสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน
ธรรมนูญสุขภาพมี 3 ประเภท ได้แก่ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะประเด็น และธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่
ต่อมาเมื่อสังคมไทยมี “พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550” แล้ว ได้ปรากฏคำว่า “ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในหมวดที่ 5 มาตรา 46 (ให้ คสช. จัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติเพื่อใช้เป็นกรอบ และแนวทางในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศ) ในกฎหมายฉบับดังกล่าว
“ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ” ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 นับเป็นนวัตกรรมของสังคมไทย ในฐานะเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศ เป็นเครื่องมือสร้างกระบวนการเรียนรู้ว่าด้วยเรื่องระบบสุขภาพของสังคมไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้ร่วมกำหนด กรอบทิศทางนโยบายด้านสุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน
ธรรมนูญสุขภาพมี 3 ประเภท ได้แก่ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ธรรมนูญสุขภาพเฉพาะประเด็น และธรรมนูญสุขภาพเฉพาะพื้นที่